อ๋อมันเป็นแบบนี้! เฉลยข้อสงสัย "ยางสีดำและสีแดง" บนไม้ปิงปองต่างกันอย่างไร?

เทเบิล เทนนิส หรือภาษาชาวบ้านที่เรียกกันติดปากว่า ปิงปอง นับเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่มีการปรับเปลี่ยนและหาข้อตกลงในกติกามาโดยตลอด รวมไปถึงเรื่องที่มาของ “ยางสีดำและแดง” บนไม้เทเบิลเทนนิสด้วย

สำหรับเรื่องนี้ หลายคนอาจสงสัยว่าทั้งสีดำและสีแดงนั้น มันมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร? เราไปหาคำตอบพร้อมกัน

h
ประเด็นดังกล่าวต้องย้อนไปถึงยุคแรกของปิงปองที่ถูกระบุว่าเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 1890 (พ.ศ. 2433) ที่ประเทศอังกฤษ พวกวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาทำส่วนใหญ่จะเป็นยาง และค่อนข้างมีความหลากหลายทางวัตถุดิบ บ้างก็ใช้ยางเรียบ บ้างก็ใช้ยางเม็ด ยางสังเคราะห์ โฟม และอีกมากมาย ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อผลการแข่งขันทั้งสิ้น

แต่ถ้าพูดถึงผลงานในยุคนั้นก็ต้องบอกว่า จีน และชาติฝั่งทวีปเอเชียเป็นมหาอำนาจในวงการอย่างแท้จริง เนื่องจากมีวัสดุอุปกรณ์โดยเฉพาะยางและสไตล์การเล่นที่ดีกว่าฝั่งทวีปยุโรป
gettyimages-2166036912-594x59ทำให้ในเวลาต่อมา ITTF หรือ สหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ จึงได้สร้างกฏกติกาในเรื่องสีของยางทั้ง 2 หน้าของไม้ปิงปองขึ้น เพื่อให้เกิดความไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกัน โดยกำหนดให้ยางของผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องประกอบด้วยสีแดงและสีดำ อยู่บนหน้าไม้ทั้ง 2 ฝั่ง และจะต้องได้รับการรับรองจาก ITTF  หรือพูดง่ายๆก็คือ นักกีฬาทุกคนต้องใช้ยางที่ทาง ITTF ผลิตเท่านั้นนั่นเอง

นอกจากนี้ ก่อนทำการแข่งขัน นักกีฬาจะต้องให้คู่ต่อสู้ตรวจสอบไม้ที่ใช้อย่างละเอียดด้วย อีกทั้งขณะทำการแข่งขันก็ต้องแสดงความชัดเจนว่าจะใช้สีอะไรในการทำเกมรุกและใช้สีอะไรในการทำเกมรับ  เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้รู้ถึงสไตล์การเล่น ทำให้เกิดความสูสีและสนุกมากขึ้น ซึ่งส่วนมากนักกีฬาจะใช้ด้านสีแดงในการเล่นเกมรุก ส่วนด้านสีดำใช้เล่นเกมรับ
gettyimages-2166031663-594x59ในส่วนความแตกต่างระหว่างยางสีดำและสีแดงก็เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานาน บางแหล่งระบุว่ายางทั้ง 2 สีมีความแตกต่างกัน เพราะใช้วัตถุดิบในการย้อมสีไม่เหมือนกัน สังเกตจากการมองทะลุแสง ยางสีดำจะทึบแสง ในขณะที่ยางสีแดงจะโปร่งแสง ส่วนคุณสมบัติของยางสีแดงนั้นเมื่อกระทบลูกจะทำให้ลูกมีความเร็วที่สูงขึ้น ส่วนยางสีดำจะสร้างแรงสปินให้กับลูกปิงปอง

อย่างไรก็ดี ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน ทำให้มีการพัฒนาให้ยางทั้ง 2 สีมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นจนไม่ต่างกันแล้ว เรื่องของสียางจึงเป็นแค่เรื่องของความเชื่อและความมั่นใจในการแข่งขันเท่านั้นในยุคปัจจุบัน