บทเรียนทุกชาติ! "เอเธนส์เกมส์ 2004" เจ้าภาพโอลิมปิกที่จัดครั้งเดียวเป็นหนี้บาน (ภาพ)

กีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน ถือเป็นหนึ่งในมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งมวลมนุษยชาติ ซึ่งที่ผ่านมามีทั้งประสบการณ์ที่ดีกับหลายเมืองใหญ่ ที่ใช้มหกรรมกีฬาระดับโลกนี้เป็นการโปรโมทประเทศ หรือพลิกฟื้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

อย่างไรก็ตามมันไม่ใช่ โอลิมปิก ที่น่าจดจำสำหรับ ประเทศกรีซ เจ้าภาพเอเธนส์เกมส์ 2004 ที่ทำให้พวกเขาประสบปัญหาต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้างที่ใช้เงินจำนวนมหาศาลจากการวางแผนงานที่ผิดพลาดจนทำให้เกิดความล่าช้า รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากรมากมาย

artt24

ชะตากรรมของของสนามแข่งขัน และสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่ได้ถูกใช้งานถูกทิ้งให้มีสภาพรกร้าง เต็มไปด้วยรอยสนิม และวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมไปทั่ว ทั้งที่มันถูกลงทุนไปมากถึง 8.5 พันล้านยูโร (ประมาณ 3.3 แสนล้านบาท) และกลายเป็นสัญลักษณ์ของความล้มเหลวมาอย่างยาวนานของกรีซ

สไปรอส คาปราลอส หัวหน้าคณะกรรมการโอลิมปิกกรีซ กล่าวว่าบทเรียนที่ได้รับจากเอเธนส์ “ก็คือ ในโลกยุคปัจจุบัน เมืองที่ได้รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ ไม่ควรพยายามสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกถาวรซึ่งจะไม่มีประโยชน์ในภายหลัง”

“มันไม่ใช่ความลับที่ประเทศของเราใช้เงินจำนวนมากในการก่อสร้างอาคารมากมาย แต่หลังจากการก่อสร้างแล้ว ก็ไม่มีงบประมาณในการดูแล และทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย”

artt2

ในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา รัฐบาลกรีซ สั่งปิดสนามกีฬาโอลิมปิกในกรุงเอเธนส์ หลังจากหลังคาเหล็กหนัก 18,000 ตัน ของสถานที่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของมหกรรมกีฬาปี 2004 ไม่ผ่านการทดสอบด้านความปลอดภัย

ด้าน คอสตาส คาร์ตาลิส หัวหน้างานระดับสูงของรัฐบาลในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้างระหว่างปี 2001-2004 กล่าวว่า “หลายสถานที่ถูกลืม ผมอยากบอกว่านี่เป็นปัญหาถาวรเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ”

ซึ่งหกปีหลังการแข่งขันโอลิมปิก ประเทศกรีซ ตกอยู่ในวิกฤติหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นในรอบเกือบทศวรรษ หลังจากทางรัฐบาลได้ทำการรายงานข้อมูลการประสบปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนักไปยังสหภาพยุโรป

artt246

“สำหรับประเทศเล็กๆ การได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกนั้นดูจะเป็นภาระที่ใหญ่จนเกินไป” คาร์ตาลิส ซึ่งปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์คนสำคัญด้านฟิสิกส์สิ่งแวดล้อม และภูมิอากาศ แสดงมุมมอง

นั่นทำให้เกิดแนวคิดโอลิมปิกยุคใหม่ ว่าหากการเสนอตัวจัดการเป็นเจ้าภาพกีฬาใหญ่ๆ แล้วดำเนินไปด้วยแผนงานเหมือนเดิม ทุกชาติก็คงจะประสบปัญหาเดียวกันต่อไปเหมือนเดิม ซึ่งแม้ว่าการท่องเที่ยวอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้หลายเมืองพร้อมเสนอตัวจัดมหกรรมที่ยิ่งใหญ่ แต่ท้ายสุดทุกเมืองก็จะต้องหาทางจัดการกับสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นอยู่ดี